หน้าหลัก > บทความการเงิน > เรื่องที่ควรรู้สำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในปี 62

เรื่องที่ควรรู้สำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในปี 62

เรื่องที่ควรรู้สำหรับการจัดพอร์ตลงทุนในปี 62*

 

          มองว่าภาพรวมเศรษฐกิจทั่วโลกจะขยายตัวในระดับที่ลดลงจากปี 2561 กำไรบริษัทจดทะเบียนจะเติบโตในระดับที่น้อยกว่าช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามการที่เศรษฐกิจและผลประกอบการโดยรวมยังคงมีการขยายตัวทำให้มีโอกาสน้อยที่ตลาดทุนโลกจะเข้าสู่ภาวะวิกฤต (Financial Crisis) สำหรับตลาดทุนปี 2562 ที่มีแนวโน้มเป็นภาวะ Sideway คือผันผวนในกรอบกว้างๆ จึงแนะนำให้มีการกระจายการลงทุนในระดับสูงสุดเพื่อลดความผันผวนของพอร์ทการลงทุนโดยรวมลงและช่วยสร้างผลตอบแทนที่ดีขึ้นในระยะยาว โดยมีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้
          1. Yield Play Theme กลับมาอีกครั้งเมื่อสหรัฐฯ ใกล้จบวงจรการขึ้นดอกเบี้ย
          การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ FED เริ่มมีสัญญาณผ่อนคลาย (Dovish) มากขึ้น โดยคาดว่า FED จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกเพียง 1 - 2 ครั้งในปี 2562 และจะเป็นการสิ้นสุดวัฏจักรการขึ้นดอกเบี้ยรอบนี้

 

          2. เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังโต แต่จะโตในอัตราที่ลดลง (Soft Landing)
          ในปี 2561 สหรัฐฯ มีนโยบายปรับลดการเก็บภาษีภาคเอกชน การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยี และตลาดแรงงานที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐฯขยายตัวด้วยอัตราที่สูง แต่ในปี 2562 จะไม่มีนโยบายลดการเก็บภาษีดังกล่าว ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อที่ปรับตัวขึ้น และสงครามการค้า อย่างไรก็ตามตัวเลขทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง บ่งชี้ว่ากำไรของบริษัทจดทะเบียนสหรัฐฯ จะขยายตัวในระดับที่น้อยกว่าเดิม

 

          3. Harmful Political ประเด็นการเมืองยังสร้างความกังวลให้ตลาดทั่วโลก
          ภูมิภาคยุโรปยังคงมีปัจจัยเสี่ยงทั้งจากกรณี Brexit, การเติบโตทางเศรษฐกิจที่น้อย, การบังคับใช้ระเบียบทางการคลัง และการขยายตัวของแนวคิดชาตินิยมที่จะส่งผลต่อการเลือกตั้งรัฐสภายุโรปในปีหน้า จึงยังคงไม่แนะลงทุน ในขณะที่ประเด็นสงครามการค้า แม้จะมีปัจจัยบวกในการเลื่อนเก็บภาษีสินค้านำเข้า 90 วัน แต่มีความเป็นไปได้น้อยที่สหรัฐฯ และจีนจะหาข้อสรุปและยุติประเด็นดังกล่าวอย่างเด็ดขาด

 

          4. Valuation ของตลาดหุ้น Asia ex Japan และตลาดหุ้นจีน กลับมาน่าสนใจอีกครั้ง
          ตลาดหุ้น Asia ex. Japan มีการปรับฐานมากพอสมควรแล้วในปี 2561 ทำให้ระดับ Valuation ถูกลงเมื่อเทียบกับในอดีต เมื่อประกอบกับอัตราการเติบโตของตลาดเกิดใหม่ที่มากกว่าตลาดพัฒนาแล้ว และความพยายามสร้่างเสถียรภาพทางการเงินด้วยการเปลี่ยนสัดส่วนเงินทุนสำรองไปยังทองคำ ส่งผลให้ตลาด Asia Ex. Japan มีความน่าสนใจ

 

          5. Pre-election rally (ถ้ามี) เป็นจังหวะทำกำไรตลาดหุ้นไทย
          จากสถิติที่ผ่านมาที่ตลาดหุ้นไทยทำผลงานได้ดีในช่วงก่อนการเลือกตั้ง อย่างไรก็ตามด้วยระดับ Valuation ที่ค่อนข้างแพง และระดับ Earning Growth ของปี 2562 ที่ระดับต่ำกว่า 10% ทำให้มีมุมมองที่จะขายทำกำไรตลาดหุ้นไทยหากมี Pre-election Rally เกิดขึ้น

 

          6. แรงกดดันเงินเฟ้อคลี่คลายหลังราคาน้ำมันปรับตัวลง
          มองว่าราคาน้ำมันดิบจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 50-80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล สร้างแรงกดดันต่ออัตรา เงินเฟ้อน้อยลง ซึ่งแรงกดดันเงินเฟ้อที่น้อยลงจะส่งผลให้ธนาคารกลางทั่วโลกไม่ต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัด เงินเฟ้อ และสามารถหันมาใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ (Dovish) ได้มากขึ้น

 

          7. ค่าเงินดอลลาร์มีโอกาสอ่อนค่าสูง
          ดอกเบี้ยสหรัฐฯ ที่ขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งในปีที่ผ่านมา ขณะที่ประเด็นสงครามการค้าส่งผลให้ค่าเงินหยวนอ่อนค่าก็เป็นตัวกระตุ้นให้ค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าเช่นกัน โดยในปี 2562 มองว่าประเด็น Trade War จะชะลอความรุนแรลงง ประกอบกับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ย FED ที่จะขึ้นช้าลง มีโอกาสสูงที่จะทำให้ค่าเงินดอลลาร์มีทิศทางอ่อนค่าในปี 2019

 

          8. ความผันผวนปลุกทองคำให้น่าลงทุน (Overweight)
          ในช่วงครึ่งปีแรกของ 2561 ราคาทองคำถูกกดดันอย่างต่อเนื่องจากการแข็งค่าของค่าเงินดอลลาร์ แต่ในครึ่งปีหลังราคาทองเริ่มกลับมาสร้างฐานและขยับตัวสูงขึ้น เมื่อประกอบกับปริมาณการถือครองทองคำผ่านกองทุน ETF และ ธนาคารกลางที่เพิ่มขึ้น ทำให้ทองคำมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นอย่างชัดเจน

 

          9. Absolute Return Strategy (Overweight)
          กองทุนรวม Absolute Return ซึ่งมีเป้าหมายในการสร้างผลตอบแทนแบบไม่มีความสัมพันธ์กับตลาดการลงทุนใดๆ จากสถานะ Long/Short เพื่อค้ากำไรส่วนต่าง เป็นอีกกลยุทธ์ที่แนะนำลงทุน เพื่อกระจายการลงทุนระดับสูงสุด

 

          10. กองทุนอสังหาฯ และโครงสร้างพื้นฐาน (Overweight)
          ภาวะตลาดที่ยังมีความผันผวนสูงจากเหตุปัจจัยข้างต้น จึงแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในกองทุนอสังหาฯ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน และ REITs เนื่องจากความกังวลในเรื่องการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยน้อยลง จากโอกาสรับปันผลสม่ำเสมอในระดับที่ชนะเงินเฟ้อได้ (5-7%)


     


_______________
* แหล่งที่มาของข้อมูล : เจษฎา สุขทิศ นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย ผู้ร่วมก่อตั้ง FINNOMENA

 

 

กลุ่มข้อมูลและวางแผนสื่อสารองค์กร
ฝ่ายสื่อสารองค์กร

บทความการเงิน

วันที่ 25 มกราคม 2562

541 Views

BAM Mobile Application

ค้นหาทรัพย์ง่ายๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส

บริการฝากขาย
อสังหาฯ
ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย