เกี่ยวกับเรา
BAM ประกอบธุรกิจด้านการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ โดยมีส่วนช่วยเหลือลูกหนี้และแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน เพิ่มเติม
ทรัพย์
อื่นๆ
ติดต่อเรา
0-2630-0700
0-2266-3377
99 ถนนสุรศักดิ์ แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
หน้าหลัก > บทความการเงิน > การวางแผนทางการเงินก่อนลงทุน
การวางแผนทางการเงินก่อนลงทุน*
ปัจจุบันการลงทุนมีหลายรูปแบบ ถ้ากล่าวถึงการลงทุนนั้นส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นการลงทุนในระยะยาวเพื่ออนาคต คำว่า “ลงทุนระยะยาว” หมายความว่าจะต้องเก็บออม และประหยัดการใช้จ่ายในปัจจุบัน นำเงินเก็บไปลงทุน เพื่อเป็นหลักประกันให้กับชีวิตในอนาคตยามที่ไม่ได้ทำงานแล้ว ก่อนที่จะนำเงินไปลงทุนยาวๆ และไม่สามารถนำมาใช้ได้ในระยะสั้น ก็ควรที่จะมีการวางแผนการเงินก่อนลงทุนอย่างฉลาด เพื่อให้การลงทุนราบรื่น และไม่สะดุดเสียกลางทาง โดยมีรายละเอียดดังนี้
แผนที่ 1 “วางแผนที่ทางความรู้”
ก่อนจะลงทุนจริง ใช้เงินจริงๆ จะต้องวางแผนทางความรู้ก่อน นักเดินทางแสวงหาควรกางแผนที่ทางความรู้ออกมา ศึกษาพิจารณาข้อเด่น-ข้อด้อยของการลงทุนแต่ละประเภทอย่างรอบคอบ ปัจจุบันแหล่งความรู้ก็มีให้ศึกษาอย่างมากมาย ทั้งเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งความรู้ทางการเงิน การลงทุนขนาดใหญ่ให้ได้ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์ออกมาเป็นรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมกับตัวเราที่สุด
แผนที่ 2 “แผนเงินทุนสำรองยามฉุกเฉิน”
อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น การลงทุนนั้นต้องใช้เวลา มิใช่จะสำเร็จได้เพียงชั่วข้ามคืน จึงควรวางแผนเงินสำรองยามฉุกเฉินเผื่อเอาไว้ เงินสำรองนั้นควรจะมีมากพอที่ให้ตัวเราเอง และครอบครัวอยู่ได้ 3-6 เดือนเป็นขั้นต่ำ เพราะไม่รู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้นข้างหน้า จึงควรกันเงินส่วนนี้ออกมาแช่แข็งเก็บไว้ใช้ยามจำเป็นเท่านั้น
แผนที่ 3 “วางแผนสภาพคล่องทางการลงทุน”
สภาพคล่องทางการลงทุน คือ เงินส่วนเกินจากเงินที่ลงทุน เช่น มีพอร์ตหุ้น 5 ล้านบาท ควรมีเงินสำรองเก็บเอาไว้อย่างน้อย 5-10% ของขนาดพอร์ตการลงทุน เพื่อเวลาเกิดเหตุการณ์ “หุ้นตก” หรือ “ราคาขายของกองทุนรวมตก” จะได้มีเงินไปซื้อหุ้นในช่วงที่ราคาต่ำ หากสามารถรักษาสภาพคล่องได้ 5-10% ตลอดเวลา นับว่าเป็นนักลงทุนผู้ชาญฉลาด หรือ Intelligent Investor นั่นเอง
แผนที่ 4 “แผนการลงทุนแบบทบต้น”
การทบต้นทางการลงทุน คือ การลงทุนอย่างต่อเนื่องทบเข้าไปทุกเดือน ทุกปี ยกตัวอย่างเช่น มีพอร์ตลงทุนในกองทุนรวม 1 ล้านบาท แผนการลงทุนก็คือ จะลงทุนแบบทบต้นทุกเดือน โดยตัดเงินจากบัญชี ออมทรัพย์ทุกเดือนเท่าๆ กัน หากสามารถทบต้นการลงทุนได้ปีละ 5% ของขนาดพอร์ต และพอร์ตกองทุนรวมสามารถสร้างผลตอบแทนทางการลงทุน หรือสามารถเติบโตได้ปีละ 5% หมายความว่า ขนาดพอร์ตกองทุนรวมจะโตปีละ 10% ต่อปี ด้วยการเติบโตปีละกว่า 10% นี้ พอร์ตจะโตเป็นสองเท่า หรือ 2 ล้านบาท ภายใน 5-7 ปี สิ่งนี้เรียกว่าการลงทุนแบบทบต้น ยิ่งสามารถทำผลตอบแทนได้สูงขึ้น พอร์ตก็จะโตเร็วขึ้น นั่นคือแผนการลงทุนแบบทบต้นที่สำคัญไม่แพ้แผนการลงทุนอื่นๆ เลยทีเดียว
แผนที่ 5 “แผนการลงทุนด้านสุขภาพ”
สิ่งหนึ่งที่จะละเลยไม่ได้เลย คือ “สุขภาพ” ของเราและคนที่เรารัก หากมีเงินทองมากมาย แต่ต้องมาเจ็บป่วยอย่างแสนสาหัส คงจะเป็นเรื่องที่ไม่ดีอย่างแน่นอน สำหรับแผนสุดท้ายนี้ต้องวางแผนเรื่องสุขภาพด้วย เช่น หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ รวมทั้งการทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ คุณผู้อ่านคงคิดว่าแผนนี้ไม่เห็นจะเกี่ยวกับแผนการลงทุนอย่างชาญฉลาด แต่ความจริงแล้วแผนด้านสุขภาพนั้นแสนจะสำคัญ และเกี่ยวข้องกันอย่างแน่นอน หากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง สภาพจิตใจก็จะแข็งแรงตามไปด้วย การคิดวางแผนการลงทุนก็จะดีตามสุขภาพจิตที่ดีอย่างไม่ต้องสงสัยอะไรเลย
โดยสรุปแผนทั้ง 5 ประการนี้ จะทำให้การลงทุนเป็นไปได้อย่างสุขใจ ไม่เสี่ยง และประสบความสำเร็จได้อย่างที่ตั้งใจเอาไว้แน่นอน และอย่างลืมท่องเอาไว้ในใจว่า “ลงทุนอย่างชาญฉลาดในวันนี้ เพื่ออนาคตที่สดใสในวันหน้า”
_________________
*แหล่งที่มาของข้อมูล : Krungsri Guru